วิธีกำจัดเหา คงเป็นคำถามของคุณพ่อคุณแม่หลายบ้าน เพราะเป็นปัญหากวนใจของคุณพ่อคุณแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อลูกเริ่มไปโรงเรียนแล้ว ก็อาจจะพบว่าเด็กๆ เป็นเหากันบ่อย เพราะบางทีก็ไปติดมาจากเพื่อนที่โรงเรียนจนทำให้ลูกมีเหาตามไปด้วย แต่ยังมีเคล็ดลับดีๆ และวิธีกำจัดเหาที่สามารถกำจัดให้อยู่หมัดได้

วิธีกำจัดเหา ที่ติดต่อกันได้ง่ายให้หายขาด

วิธีกำจัดเหา เมื่อลูกเปนเหาคุณพ่อคุณแม่ก็เป็นกังวลว่าจะหายไหม จะกำจัดให้หายขาดอย่างไรดี เป็นแล้วเป็นอีกจนบางครั้งคุณพ่อคุณแม่ยังสงสัยว่าลูกเป็นเหาได้ยังไง ทั้งๆ ที่ก็ดูแลรักษาความสะอาดให้ลูกอย่างดี

ทั้งนี้เป็นเพราะเหาที่มีการติดต่อกันในคนนั้น สามารถติดต่อกันได้ง่ายๆ ผ่านการใกล้ชิดกัน การเล่นด้วยกัน การกินอาหารร่วมกัน หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น การใช้หวีอันเดียวกัน การสวมหมวกใบเดียวกัน หรือแม้แต่การนอนเตียงเดียวกันหรือนอนติดกัน ก็สามารถติดเหาจากอีกคนหนึ่งได้ แต่การเป็นเหาก็ยังมีวิธีการกำจัดเหาให้หายขาดได้

รู้จัก เหาและไข่เห่า เพื่อหาวิธีกำจัดเหาให้หาย

เหา

เหา (Lice) เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกแมลงที่มีขนาดตัวเล็กมาก โดยมีขนาดราวๆ 3-5 มิลลิเมตรเท่านั้นเอง ซึ่งเหาเป็นแมลงที่เคลื่อนตัวได้เร็วมาก และยังสามารถเกาะเกี่ยวกับเส้นขนได้เป็นอย่างดีอีกด้วย เหนียวแน่นชนิดที่ว่าถ้าสะบัดศีรษะแรงๆ เหาก็ยังสามารถเกาะอยู่กับเส้นผมได้

เหา สามารถแยกย่อยออกไปได้มากกว่า 3,000 ชนิด โดยจะมีทั้งเหาชนิดที่เป็นปรสิตของสัตว์ และปรสิตของคน โดยเหาที่เป็นปรสิตของคนนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ

  • เหาที่ศีรษะ (Pediculosis capitis) เป็นเหาที่อาศัยอยู่บริเวณศีรษะ ดูดเลือดเป็นอาหาร โดยเหาชนิดนี้จะมีอายุราวๆ 30 วัน และจะวางไข่วันละประมาณ 10 ฟอง ซึ่งจะใช้เวลาในการฟักประมาณ 7-10 วัน เหาที่ศีรษะนี้สามารถติดกันได้ง่ายผ่านการสัมผัสใกล้ชิด เช่น นอนด้วยกัน เล่นด้วยกัน ใช้หวี ใช้หมวก ใช้ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดผมร่วมกัน
  • เหาที่ลำตัว (Pediculosis corporis) เหาชนิดนี้มีลักษณะคล้ายกับเหาที่ศีรษะ ต่างกันที่ขนาด โดยเหาที่ลำตัวจะมีขนาดใหญ่กว่า และอาศัยอยู่ตามเสื้อผ้าบริเวณรอยตะเข็บ หรือรอยเย็บ เวลาที่หิวก็จะคลานออกจากใยผ้าเพื่อดูดเลือกกินเป็นอาหาร โดยเหาที่ลำตัวนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสวมใส่เสื้อผ้าร่วมกัน หรือการอยู่ใกล้ชิดกันนานๆ เช่น บนรถเมล์ รถไฟฟ้า โดยเหาที่ลำตัวจะวางไข่เขาวันละประมาณ 10-15 ฟอง
  • เหาที่อวัยวะเพศ หรือโลน (Pediculosis pubis) เป็นเหาตัวเล็กๆ ที่เกาะอยู่ตามเส้นขนบริเวณอวัยวะเพศ หรือตามขอบก้น หรือตามเส้นขนก้น หรือรักแร้ โดยเหาที่อวัยวะเพศจะดูดเลือดบริเวณขาหนีบหรืออวัยวะเพศเป็นอาหาร ซึ่งเหาที่อวัยวะเพศนี้จะเกาะติดเส้นขนบริเวณอวัยวะเพศอย่างเหนียวแน่น เนื่องจากมีขามีตะขอสำหรับยึดเกาะเส้นขนโดยเฉพาะ และเหาชนิดนี้มักจะติดต่อกันผ่านการร่วมเพศ การใส่เสื้อผ้าร่วมกัน รวมถึงการใช้สุขภัณฑ์ร่วมกันด้วย

ไข่เห่า

ไข่เหาจะมีลักษณะเล็ก ถึงเล็กมาก เป็นจุดขาวๆ หรือบางครั้งก็มีสีเหลืองเข้ม มีขนาดราวๆ 1 มิลลิเมตร แต่ว่าสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยไข่เหามักจะติดอยู่ตามเส้นผมหรือโคนผม หรือบริเวณเหนือใบหูและท้ายทอย โดยที่ไข่เหานั้นจะไม่มีการกลิ้งหรือกระเด็นกระดอน แต่จะยึดติดแน่นอยู่กับเส้นผม

ไข่เหาจะใช้ระยะเวลาในการฟักตัวประมาณ 7-10 วัน ซึ่งหลังจากฟักตัวแล้ว เหาแต่ละชนิดก็จะมีวงจรชีวิตที่แตกต่างกัน โดยเหาที่ศีรษะจะมีชีวิตอยู่นอกตัวคนได้ราวๆ 1-2 วัน ขณะที่เหาตามลำตัวจะมีชีวิตอยู่นอกตัวคนได้ราวๆ 10 วัน ส่วนเหาที่อวัยวะเพศหากอยู่นอกตัวคนจะมีชีวิตอยู่ได้แค่ 1 วันเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้เหาจึงมักจำเป็นต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การดำรงชีพได้ยาวนาน นั่นก็คืออยู่ตามเส้นผมและเส้นขนตามร่างกายของมนุษย์เรานั่นเอง เพราะนอกจากจะสามารถยึดเกาะเส้นขนได้อย่างแน่นเหนียวแล้ว ก็ยังสามารถดูดกินเลือดได้ตลอดเวลา

แม้จะเป็นจุดสีขาวขึ้นละลานตาอยู่บนหนังศีรษะเหมือนกัน แต่ความแตกต่างก็คือ รังแคจะสามารถเลื่อนไปตามเส้นผมได้ ขณะที่ไข่เหาจะยึดติดกับเส้นผมเลย ไม่สามารถเลื่อนไปมาตามเส้นผมได้ และไม่สามารถหวีออกได้ง่ายๆ เหมือนกับรังแค เว้นเสียแต่ว่าจะหวีออกด้วยหวีซี่ถี่มากๆ หรือใช้หวีเสนียด

อาการที่บ่งบอกกว่าลูกกำลังเป็นเหา

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นลูกมีอาการดังต่อไปนี้ อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าลูกกำลังเป็นเหา

  • มีอาการคันบ่อยๆ ที่ศีรษะ ลำตัว หรืออวัยวะเพศ
  • ลูกรู้สึกคันยุบยับ เหมือนมีอะไรเคลื่อนไหวหรือไต่ไปมาบนหนังศีรษะ
  • ลูกมีอาการคันบ่อยมาก โดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ คอ และหู
  • สังเกตว่ามีหัวอยู่ตามศีรษะและลำตัว โดยเหาที่โตเต็มวัยแล้วอาจมีขนาดราวๆ กับเมล็ดงา
  • มีจุดขาวๆ หรือเหลืองเข้มอยู่บนศีรษะ มีลักษณะคล้ายรังแค แต่ไม่สามารถหวีออกได้ง่ายๆ เหมือนกับรังแค
  • ลูกเกาที่ศีรษะหรือลำตัวบ่อยๆ เกาจนเป็นแผล หรือมีตุ่มขึ้นบริเวณที่เกา หรือรู้สึกคัน
  • มีรอยกัดขึ้นเป็นรอยแดงๆ ที่บริเวณเอว ขาหนีบ ต้นขา หรือหัวหน่าว

วิธีกำจัดเหา

วิธีกำจัดเหาให้ได้ผล

การรักษาเหานั้น สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งบางวิธีอาจจะได้ผลกับคนหนึ่ง แต่ไม่เห็นผลหรือเห็นผลน้อยในอีกคนหนึ่ง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงสามารถเลือกวิธีกำจัดเหาได้ตามสะดวก เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมในการใช้งานและได้ผลจริง

1. วิธีกำจัดเหาโดยใช้ยาฆ่าเหา

การรักษาเหาโดยการใช้ยากำจัดเหา เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ง่ายและคลาสสิก โดยอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ  คือ ยารักษาเหาตามแพทย์สั่ง และยารักษาเหาที่สามารถซื้อได้เองตามร้านขายยาหรือห้างสรรพสนค้าต่างๆ

ยารักษาเหาตามแพทย์สั่ง เช่น

  • เบนซิล แอลกอฮอล์ (Benzyl alcohol) เป็นยาสำหรับฆ่าเหาโดยตรง แต่ไม่ทำปฏิกิริยากับไข่เหา โดยหลังสระผมเสร็จ รอให้ผมแห้งแล้วชโลมเบนซิล แอลกออฮอล์ลงบนเส้นผม ทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วล้างออก ยานี้สามารถใช้กับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป สตรีมีครรภ์และแม่ให้นมบุตรก็สามารถใช้ได้
  • ยาไอเวอร์เมคติน (Ivermectin) เป็นยาฉีดสำหรับฆ่าเหาและตัวอ่อนของเหา โดยไม่จำเป็นต้องสางเอาไข่เหาออกก่อน ยานี้เหมาะสำหรับเด็กอายุตั้งแต่  6 เดือนขึ้นไป
  • มาลาไทออน (Malathion) เป็นแชมพูฆ่าเหาที่มีฤทธิ์รุนแรง ฆ่าทั้งเหาและไข่เหา โดยยานี้เหมาะสำหรับเด็กที่อายุ 6 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม ยานี้ไวต่อความร้อน ขณะใช้ยานี้ ไม่ควรอยู่ใกล้วัตถุที่มีความร้อนไม่ว่าจะเป็นไฟ ไดร์เป่าผม เตารีด เป็นต้น
  • สปินโนแซด(Spinosad) เป็นยาฆ่าเหาอีกชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์รุนแรง ฆ่าทั้งเหาและไข่เหา เหมาะสำหรับเด็กที่อายุ 4 ปีขึ้นไป

ยารักษาเหาที่สามารถหาซื้อเองได้ เช่น

  • ปิเปอโรนิล บิวออกไซด์ (Piperonyl butoxide) และ ไพรีทริน (Pyrethrins) เป็นยาแชมพูที่มีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงและเหา มีส่วนผสมจากดอกเบญจมาศ จึงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้ดอกเบญจมาศ และควรใช้ในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
  • เพอร์เมทริน (Permethrin)  เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง ใช้สำหรับกำจัดแมลงและเหาได้เป็นอย่างดี มีทั้งแบบที่เป็นโลชั่นและแบบแชมพู ใช้ได้ในเด็กทารกอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป
  • ไดเมธิโคน (Dimethicone) เป็นยากำจัดเหาที่มีทั้งแบบโลชั่นและแชมพู มีฤทธิ์ในการฆ่าเหาโดยการอุดกั้นทางเดินหายใจ และทำให้เหาตาย

อย่างไรก็ตาม แม้กลุ่มยาฆ่าเหาบางอย่างจะสามารถหาซื้อเองได้ แต่เวลาใช้งาน ควรจะปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในผลิตภัณฑ์ ไม่ควรใช้น้อยหรือมากเกินกว่าที่ผลิตภัณฑ์กำหนด อาจเกิดอันตรายหรือผลข้างเคียงที่รุนแรงได้

2. วิธีกำจัดเหาด้วยยาสระผมฆ่าเหา 

แชมพูสระผมสำหรับกำจัดเหา เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ง่ายและสะดวก เพียงแค่ใช้แชมพูสระผม ก็ช่วยกำจัดเหาออกไปได้ โดยแชมพูที่มีสรรพคุณในการกำจัดเหานั้นส่วนมากมักมีสารเคมีที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อแมลงและเหา เช่น เพอร์เมทริน ปิเปอโรนิล บิวออกไซด์  และ ไพรีทริน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แชมพูนี้ควรใช้ในปริมาณตามที่แพทย์สั่ง หรือใช้ตามปริมาณที่กำหนดไว้ในฉลากผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง หรือถ้าใช้แล้วมีอาการแพ้ ควรหยุดใช้ทันที

3. วิธีกำจัดเหาด้วยสมุนไพรพื้นบ้าน 

  • วิธีกำจัดเหาด้วยใบน้อยหน่า ใช้ใบน้อยหน่ากับเหล้าขาวมาตำผสมกัน โดยใช้ใบน้อยหน่าสดประมาณ 4 ใบ เมื่อตำจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้วให้คั้นเอาแต่น้ำมาชโลมให้ทั่วศีรษะ แล้วทิ้งไว้ราวๆ 10 นาที จากนั้นใช้หวีสางผมออก
  • วิธีกำจัดเหาด้วยมะกรูด ใช้มะกรูดที่ผลแก่ นำมาย่างกับไฟจนสุก เมื่อสุกแล้วนำมาวางพักไว้ให้เย็น จากนั้นคลึงลูกมะกรูดไปมา แล้วผ่าครึ่งเผื่อเอาน้ำมะกรูดลงบนศีรษะและขยี้น้ำมะกรูดให้ทั่วทั้งศีรษะ จากนั้นค่อยๆ ใช้หวีเสนียดสางเอาไข่เหาออก
  • วิธีกำจัดเหาด้วยมะตูม เลือกผลมะตูมสุกแล้วนำมาผ่าซีก เพื่อเอายางของมะตูมมาใช้ทาให้ทั่วทั้งเส้นผม ค่อยๆ หวีผมเบาๆ และทิ้งยางมะตูมนั้นให้แห้ง เพื่อฆ่าเหาให้ตาย เมื่อยางมะตูมแห้งแล้วค่อยๆ ล้างน้ำให้สะอาดและหวีผมออกอีกครั้ง
  • วิธีกำจัดเหาด้วยใบสะเดา เลือกใบสะเดาแก่ จากนั้นนำมาโขลกผสมกับน้ำให้ละเอียด เสร็จแล้วนำสะเดาที่ตำละเอียดนั้นมาชโลมทาให้ทั่วทั้งศีรษะแล้วทิ้งไว้สักพัก โดยอาจจะนำมาผ้าหรือถุงมาคลุมศีรษะไว้ด้วย
  • วิธีกำจัดเหาด้วยใบยอ เลือกใช้ใบยอสด แล้วนำมาตำให้ละเอียด จากนั้นพอกทั่วทั้งศีรษะเพื่อฆ่าเหา ทิ้งไว้สักพักแล้วจึงล้างออกให้สะอาด
  • วิธีกำจัดเหาด้วยหอมแดง ใช้หอมแดงประมาณ 4-5 หัว นำมาตำหรือปั่นให้หอมแดงละเอียด แล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำมาพอกทิ้งไว้ให้ทั่วทั้งศีรษะสักพัก จากนั้นล้างออกให้สะอาด แล้วหวีซ้ำด้วยหวีเสนียดอีกครั้งหนึ่ง

4. วิธีกำจัดเหาด้วยเบกกิ้งโซดา 

การใช้เบกกิ้งโซดาในการกำจัดเหานั้น ทำได้ง่ายๆ เพียงเทเบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำ จากนั้นใช้หวีจุ่มลงไปแล้วนำมาหวีผม เบกกิ้งโซดาจะทำให้เส้นผมแห้งกร้าน ทำให้ไข่และเหาหลุดออกมาได้ง่ายเมื่อสางออก

5. วิธีกำจัดเหาด้วยน้ำส้มสายชู 

เพียงใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำร้อนให้เข้ากัน จากนั้นใช้หวีเสนียดจุ่มลงไปในชามที่ผสมน้ำกับน้ำส้มสายชูไว้ แล้วนำหวีมาสางผม

หรือจะใช้น้ำส้มสายชูผสมกับน้ำร้อนแล้วค่อยๆ ชโลมลงบนศีรษะ จากนั้นจึงค่อยๆ ใช้หวีเสนียดสางผมออกก็ได้เช่นกัน

6. วิธีกำจัดเหาด้วยเบบี้ออยล์ และ Essential Oil อื่นๆ

น้ำมันหอมระเหย หรือออยล์ต่างๆ ก็มีส่วนช่วยในการกำจัดเหาได้ดี เช่น

  • ทีทรีออยล์
  • น้ำมันลาเวนเดอร์
  • น้ำมันสะเดา
  • น้ำมันกานพลู
  • น้ำมันยูคาลิปตัส
  • น้ำมันโป๊ยกั๊ก
  • น้ำมันใบอบเชย
  • น้ำมันโหระพาแดง
  • น้ำมันสะระแหน่
  • น้ำมันลูกจันทน์เทศ

ซึ่งวิธีใช้ก็เพียงแค่นำน้ำมันหอมระเหยชนิดใดก็ได้ที่มีอยู่ ใช้ประมาณ 15-20 หยด ผสมกับน้ำมันมะกอกประมาณ 2 ออนซ์ เมื่อผสมเข้ากันแล้วนำมาชโลมให้ทั่วทั้งศีรษะ วิธีนี้ควรทำในตอนกลางคืน เพราะจะต้องหมักทิ้งไว้อย่างน้อย 12 ชั่วโมง แล้วจึงค่อยหวีออกและสระผมทำความสะอาดให้เรียบร้อย

7. วิธีกำจัดเหาด้วยการใช้หวีเสนียดหวีสางเหา (Wet-combing) 

การกำจัดเหาด้วยหวีเสนียดนั้น นอกจากจะเป็นการกำจัดเอาตัวเหาออกมาแล้ว หวีเสนียดยังช่วยให้ไข่เหาที่เกาะติดบนเส้นผมหลุดออกมาด้วย โดยวิธีทำก็คือ ชโลมผมให้เปียกด้วยน้ำสะอาด หรือใช้ครีมนวดผมชโลมให้เปียกทั้งศีรษะ จากนั้นใช้หวีเสนียดสางผม ก็จะช่วยให้ไข่เหาหลุดออกมา วิธีนี้แม้จะง่าย แต่ก็ต้องใช้ความอดทนสูงเพราะต้องใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน เพื่อจะค่อยๆ สางเอาไข่เหาออกมาให้ได้มากที่สุด

การดูแลสุขภาพศีรษะให้เหาหายไปอย่างถาวร 

นอกจากการใช้ยารักษาเหาควบคู่ไปกับการใช้หวีเสนียดสางผมเป็นประจำแล้ว สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ไม่มีเหา หรือช่วยให้เหาลดลง และค่อยๆ หมดไปก็คือ

  • หากลองวิธีต่างๆ แล้วแต่เหาก็ยังไม่หายไป คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาทางการแพทย์โดยตรง แพทย์สามารถที่จะวินิจฉัยและสั่งจ่ายยาที่ให้ผลลัพธ์ในการกำจัดเหาที่ดีกว่า
  • การโกนผม เพราะเมื่อไม่มีเส้นผมให้ยึดเกาะแล้ว เหาและไข่เหาก็จะหายไปด้วย แต่วิธีนี้ก็อาจจะทำใจลำบากสำหรับเด็กๆ บางคน เพราะผมเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจได้
  • ควรสระผมและทำความสะอาดหนังศีรษะเป็นประจำ เพราะการปล่อยเส้นผมและหนังศีรษะให้หมักหมมเต็มไปด้วยสิ่งสกปรก เสี่ยงที่จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ชั้นดีของแมลงต่างๆ เช่น เหา เป็นต้น
  • รักษาเหาอย่างต่อเนื่อง ไม่ทำๆ หยุดๆ หรือแค่เพียงเห็นว่าเหาลดลงแล้วก็หยุดรักษาต่อ ควรรักษาต่อจนแน่ใจว่าไม่มีไข่เหาหรือเหาหลงเหลือแล้ว เพื่อให้แน่ใจได้ว่าลูกหายเป็นเหาแล้วจริงๆ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของต่างๆ ร่วมกับผู้อื่น เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าใครเป็นเหาหรือไม่เป็นเหาบ้าง การป้องกันไว้ก่อน ถือเป็นทางเลือดที่ดีที่จะป้องกันเหาได้

 

การป้องกันไม่ให้เหากลับมาได้อีกก็คือการรักษาความสะอาด ต้องทำความสะอาดเครื่องใช้ส่วนตัวของเด็กและเครื่องใช้ภายในบ้านที่อาจะมีโอกาสสัมผัสกับเหา และต้องสอนลูกไม่ให้ใช้หวี ผ้าเช็ดตัว หรือของตกแต่งผมร่วมกับคนอื่นด้วย เพื่อป้องกันเหามาติด นอกจากนี้ต้องหมั่นรักษาความสะอาดร่างกายและศีรษะอย่างสม่ำเสมอ นี่คือวิธีกำจัดเหาที่ยั่งยืน หากลูกทำตามได้ทั้งหมด เหาก็จะไม่กลับมาให้เห็นอีกเลย

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

  • https://www.enfababy.com
  • https://story.motherhood.co.th/%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%87%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%81/

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่  kerrileefolds.com
สนับสนุนโดย  ufabet369